14/4/53

วิธีการเลือกใช้ยา และข้อพิจารณาเกี่ยวกับการใช้ยา

วิธีการเลือกใช้ยา และข้อพิจารณาเกี่ยวกับการใช้ยา

1. เลือกยาที่มีคุณภาพ และดูวันหมดอายุที่ฉลากยาทุกครั้ง

2. การให้ยาควรคำนึงถึงสาเหตุที่ แท้จริงของโรคเป็นหลัก หากไม่แน่ใจควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

3. คุณภาพน้ำเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณภาพน้ำไม่ดี สกปรก จะทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง

4. ระหว่างการให้ยาหรือสารเคมี ควรมีการให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ มีการระบายน้ำเข้า – ออก เพื่อถ่าย ของเสีย หรือยา และสารเคมีที่เสื่อมประสิทธิภาพออกจากตู้

5. ก่อนใส่ยา หรือสารเคมีทุกครั้ง ต้องมีการคำนวณปริมาณยาที่ให้ตามปริมาตรของน้ำ (ยาละลายน้ำ) หรือตามน้ำหนักตัวสัตว์ (ยาฉีด) แล้วแต่กรณี เพื่อป้องกันพิษของยา

6. หลังจากการใส่ยา หรือสารเคมีในตู้ปลา ควรสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติของปลา

7. ก่อนใส่ยา และสารเคมีใหม่ทุกครั้งควรทำการถ่ายน้ำเก่าออก ประมาณครึ่งนึงของตู้

วิธีการให้ยา


1. การให้ยาภายนอก
เป็นวิธี ที่นิยมเนื่องจากสะดวก และปลาไม่บอบช้ำจากการจับต้อง โดยเฉพาะปลาที่มีขนาดเล็ก หรือมีปริมาณมากจนไม่สามารถจับฉีดเป็นรายตัว ยาที่ใช้ควรเป็นยาที่สามารถละลายน้ำได้ดี มีการกระจายตัวสูง และสามารถออกฤทธิ์ต่อภายนอกได้ เช่น ยาฆ่าพยาธิภายนอก ยาปฏิชีวนะบางชนิด

a. การจุ่ม

เหมาะสำหรับการเลี้ยงปลาที่มี ประมาณน้อย สะดวกที่จะนำขึ้นมาจุ่ม จะใช้ปริมาณยาในความเข้มข้นสูง ระยะเวลาสั้น วิธีนี้จะทำให้ปลาเครียด และเกิดความเป็นพิษได้ง่าย

b. การแช่ระยะยาว

เหมาะสำหรับการเลี้ยงปลาในบ่อ ขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณปลาค่อนข้างมาก จะใช้ในความเข้มข้นค่อนข้างต่ำ ระยะเวลานาน โดยละลายยา หรือสารเคมีลงในน้ำ และระหว่างให้ยาจะไม่มีการเปลี่ยนน้ำ แต่ถ้าจะให้ยาครั้งใหม่ต้องมีการถ่ายน้ำเก่าออกอย่างน้อยครึ่งนึง

c. การให้ยาเฉพาะที่

ใช้ในกรณีที่ปลามีบาดแผลที่ผิว หนัง ตามลำตัว โดยทายาหรือสารเคมีบริเวณแผลโดยตรง

2. การให้ยาภายใน

a. การให้ยาผสมอาหาร

โดยผสมยาลงในอาหาร แล้วนำไปให้ปลากิน มีข้อจำกัดคือ ยาอาจทำให้รสชาติของอาหารเปลี่ยนไปจนปลากินอาหารลดลงหรือไม่กินเลย ซึ่งปกติปลาป่วยจะกินอาหารน้อยอยู่แล้ว จึงอาจทำให้ปลาไม่ได้รับยาในปริมาณที่เหมาะสม

b. การฉีดยา


เป็น วิธีที่ยาออกฤทธิ์ได้ดีที่ สุด และปลาได้รับปริมาณยาครบถ้วน เหมาะสำหรับปลาขนาดใหญ่ มีจำนวนไม่มาก หรือในกรณีฉุกเฉิน การฉีดยาจะทำให้ปลาเกิดความเครียดดังนั้นต้องมีวิธีจับบังคับอย่างเหมาะสม ผู้ฉีดควรเป็นสัตวแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญ เนื่องจากการฉีดที่ไม่ถูกวิธีจะก่อให้เกิดอันตรายถึงตายได้

วิธีการ ฉีดได้แก่ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การฉีดเข้าหลอดเลือด การฉีดเข้าช่องท้อง และการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง การเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการรักษา ชนิดของยา และความจำเป็น

การแพ้ยา และสารเคมีในปลาสวยงาม

ปลาอาจแสดงอาการแพ้ยา หรือสารเคมีที่ให้ ดังนั้นหลังจากให้ยาควรสังเกตอาการที่เกิดขึ้นกับปลาได้โดย

· ปลาแสดงอาการผิดปกติ หลังจากให้ยา หรือสารเคมีประมาณ 10 นาที แต่อาการแพ้จะเกิดช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับฤทธิ์ และปริมาณความเป็นพิษของยา และสารเคมีเหล่านั้น

· ปลาที่มี อาการแพ้ไม่มาก จะลอยตัวขึ้นเหนือน้ำ หายใจหอบถี่ การเคลื่อนไหวจะช้าผิดปกติ

· ปลาที่มี อาการแพ้มาก จะแสดงอาการทางประสาท เช่น ตื่นตกใจ หรือว่ายวนไปมาไร้ทิศทาง

· ปลาที่ตายจาก การแพ้ยา จะมีอาการผิดปกติ เช่น พบจุดเลือดออกใต้เกล็ด ทวารหนัก หรือในลูกตา นอกจากนี้ยังพบว่ารูทวารหนักเปิดกว้างกว่าปกติ ตาโต

เมื่อปลาแสดง อาการแพ้ยา หรือสารเคมี ควรทำการเติมน้ำสะอาดลงในตู้ปลาเพื่อเจือจาง และสารเคมีดังกล่าวทันที และเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้เพียงพอ บางครั้งอาจต้องใช้สารเคมีบางอย่างพื่อลดความเป็นพิษ เมื่อปลาแสดงอาการดีขึ้นให้เปลี่ยนน้ำในตู้ด้วยน้ำสะอาด
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เอกสาร อ้างอิง

Treves-Brown KM. Applied fish pharmacology. 1 st ed. Netherland:Kluwer

academic publishers,2000.

Noga EJ. Fish disease:diagnosis and treatment. 1 st ed. St.louise:Mosby,1997.

Wildgoose WH. BSAVA manual of ornamental fish. 2nd ed. Gloucester:British Small Animal Veterinary Association, 2001.

Stoskopf MK. Fish Medicine. 1 st ed. Mexico:W.B. Saunders company,1993.

Marx KL, Roston MA. The exotic animal drug compendium an international formulary. New Jersy: Veterinary learning system, 1986.

Carpenter JW, Mashima TY, Rupiper DJ. Exotic animal formulary. 2nd ed. Philadelphia: W.B. Saunders, 2001.

By: สพ.ญ.กฤดา ชูเกียรติศิริ
Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Powered by Blogger

Blog Directory

Subscribe in NewsGator Online Yahoo bot last visit powered by MyPagerank.NetMsn bot last visit powered by MyPagerank.Net Add to Google Reader or Homepage Ping your blog, website, or RSS feed for Free

Feeds