14/4/53

โรคของปลาทะเลและวิธีการรักษาโรค


โรคและวิธีการรักษาโรค
โรคที่มักพบได้ บ่อยๆอาจแบ่งออกได้เป็น
1. โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
2. โรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัว
3. โรคที่เกิดจาก Copepod
4. โรคที่เกิดจากพยาธิ
5. โรคที่เกิดจาก Sporozoa
6. โรคที่เกิดจากเชื้อรา
7. โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
8. โรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อม
     อาการที่แสดงให้เห็นว่าปลาป่วยคือ จะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทั้งนี้อาจเกิดจากเชื้อโรค หรือมีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของน้ำก็ได้ ปลาจะมีสีจางลงและว่ายถูลำตัวกับหิน หรือปะการังบริเวณก้นตู้ โดยเฉพาะในกรณีที่มีพยาธิภายนอกอาจพอที่จะวินิจฉัยโรคจากอาการคร่าวๆได้ดัง นี้
อาการความผิดปกติที่พบทั่วไป
สี จางลง : อาการนี้อาจเกิดจากการตกใจของปลาหรือโรคต่างๆ ได้แก่วัณโรค , การได้รับสารพิษ , การได้รับอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งอาจเกิดขึ้นเมื่อปลามีอายุมาก
- ไม่กินอาหาร : เป็นอาการเบื้องต้นที่แสดงความผิดปกติของปลาซึ่งกำลังเป็นโรคเกือบทุกชนิด ทั้งโรคที่เกิดจากการติดเชื้อต่างๆ , หนอนพยาธิ . อาหารไม่เหมาะสม รวมทั้งสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมอีกด้วย
- ก้นแดงบวม : มีอุจจาระผิดปกติ ต้องระวังการติดเชื้อของทางเดินอาหารและพยาธิภายใน ถ้าเกิดการท้องผูก ( ไม่ขับถ่าย ) ควรดูแลเรื่องชนิดของอาหารให้เหมาะสมด้วย
- ว่ายน้ำถูลำตัวกับพื้นหรือหินปะการัง : มักพบพยาธิที่ผิวหนังหรือมีการระคายเคืองจากภาวะน้ำเป็นพิษ ทั้งนี้จะพบการหดตัวของครีบ และมีการเคลื่อนไหวแบบส่ายลำตัวด้วย
- พฤติกรรมว่ายน้ำผิดปกติ :ให้ตรวจสอบดูคุณภาพน้ำว่ามีสารพิษอยู่หรือไม่ แต่ถ้าปลามีอาการขึ้นๆลงๆ คล้ายกระโดดหรือจมอยู่แต่ที่ก้นอ่างหรือลอยผิวน้ำตลอดเวลา อาจหมายถึงการติดเชื้อที่ถุงลม โดยเฉพาะเชื้อแบคที่เรีย ( Air-bladder infection )
- หายใจแรงอย่างสม่ำเสมอ : เป็นอาการที่มักพบเมื่อมีอาการติดเชื้อ หรือพยาธิบริเวณเหงือก ได้แก่การติดเชื้อ Oodinium Cryptocaryon , Trichodina หรือ Dactylogyrus เป็นต้นและเป็นการแสดงอาการขาดออกซิเจน หรือมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ในน้ำสูงเกินไป
- การว่ายน้ำพุ่งไปมาร่วมกับการหายใจถี่แรง และพยายามกระโดดออกจากตู้ : มักเกิดจากความเป็นพิษของน้ำซึ่งอาจเนื่องมาจากปริมาณแอมโมเนียที่สูงเกินไป หรือความไม่เหมาะสมของคุณสมบัติอื่นๆ เช่น pH เป็นต้น
- การว่ายน้ำกลับไปกลับมาโดยยื่นปากขึ้นมาเหนือน้ำร่วมกับการหายใจถี่แรง : อาการนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของความเค็มกะทันหันจากน้ำจืดไป เค็มจัด
- ปลานอนอยู่ก้นบ่อมีการหายใจถี่ : หลังจากย้ายตู้ใหม่ ปลาอาจสามารถว่ายขึ้นมาได้อย่างยากลำบากเป็นระยะๆ มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของความเค็มจากเค็มไปจืด
- ปลามีอาการช๊อกหลังจากย้ายตู้ใหม่ : เกิดจากการเปลี่ยนสภาพน้ำอย่างกะทันหัน
อาการของโรคที่พบทางผิวหนัง
- โรคติดเชื้อ Oodinium : จะมีจุดสีขาวหรือขาวปนเหลืองเล็กๆบนผิวบริเวณครีบ เมื่อนำมาส่องกล้องจะพบเชื้อ Oodinium sp.
- โรคจุดขาว ( White spot ) : มีจุดหยาบ , สีขาวหรือขาวปนเทา บนผิวโดยเฉพาะที่บริเวณครีบและหาง เมื่อนำมาส่องกล้องจะพบพยาธิ
- โรคปื้นขาว ( White blotch ) : มีปื้นสีขาวส่วนใหญ่มีขอบเขตไม่ชัดเจนนัก มีสีเทาขาว และลุกลามลงไปในผิวหนังได้ เมื่อเพาะเชื้อจะพบแบคทีเรียที่พบโรค
- โรคจากเชื้อวิบริโอ ( Bibriosis ) : ผิวหนังมีเลือดออกมากและกระจายอยู่ทั่วไปจนอาจเห็นเป็นปื้นๆโดยมีจุดเลือด ออกใต้ผิวเมื่อนำมาเพาะเชื้อจะพบเชื้อในตระกูลวิบริโอ
- โรคครีบกร่อน ( Fin Rot ) : เนื้อเยื่อของครีบและหางมีสีเปลี่ยนไป มักจะมีสีขาวขึ้น โดยเฉพาะบริเวณขอบที่เริ่มเปื่อยและจะหลุดขาดออก เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
- โรคเห็บระฆัง ( Trichodina infection ) : ผิวหนังจะเป็นฝ้าขาวหรือขาวฟ้า เป็นปื้นๆ ซึ่งต่อมาอาจเกิดเป็นจุดเลือดออกและมีหลุมขึ้นบริเวณผิวหนัง มีเมือกมากนำไปส่องดูจะพบเห็บระฆัง ( Trichodina sp. )
- ความเป็นกรดสูง ( Low pH ) : ผิวหนังจะเป็นสีขาวขุ่นโดยทั่วไปมีเมือกมากและอาจมีอาการจุดเลือดออกเป็นจุด เล็กๆด้วย เกิดจากน้ำเป็นกรดมากเกินไป
- โรคติดเชื้อแบคทีเรีย : มีแผลหลุมและแผลเปื่อยเกิดขึ้นอย่างช้าๆที่ผิวหนัง อาจมีการยกตัวสูงขึ้นของเกล็ด และเกล็ดหักหลุดง่าย รวมทั้งแผลที่ผิวหนังเมื่อทิ้งไว้นานๆจะกลายเป็นแผลเปิดใหญ่ได้ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
- โรค Hippocampus : เป็นโรคที่มักพบในม้าน้ำจะมีปื้นที่ผิวหนังเป็นสีขาวหรือเป็นสีขาวที่มี ลักษณะมันๆเมื่อตรวจดูจะพบเชื้อ Glugia
- โรคพยาธิบนผิวหนัง : จะเห็นพยาธิซึ่งอาจเคลื่อนไหวได้ หรืออยู่นิ่งติดอยู่ที่ผิวหนัง พยาธินี้มักจะมีขนาดใหญ่ซึ่งอาจเป็นหนอนพยาธิ หรือเป็นสัตว์ที่มีเปลือกหุ้ม ( Crustaecean ) ก็ได้
- โรคติดเชื้อรา : มีอาการเป็นปุยคล้ายสำลีซึ่งจะมีขนาดใหญ่ขึ้นได้เมื่อทิ้งไว้ติดอยู่ที่ผิว หนังหรือบริเวณแผลที่ผิวหนัง
- โรคเนื้องอกจากเชื้อไวรัส : มีตุ่มหรือเนื้องอกขนาดเล็กซึ่งมักโตขึ้นลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำสีขาวขึ้น บริเวณขอบครีบหรือบนผิวหนัง
อาการ ของโรคที่พบบริเวณตา
- โรคตาโปน ( Exophthalmia ) : ลูกตาของปลาจะนูนโป่งออกมา ซึ่งอาจเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างมีสาเหตุได้หลายอย่างเช่นการติดเชื้อ วัณโรค ( Tuberculosis ) หรือเชื้อไวรัสชนิดต่างๆรวมทั้งเชื้อแบคทีเรียได้ด้วย บางครั้งจะพบกรณีที่มีเชื้อ Ichthyosporidium sp.
- โรคตาฝ้า ( Cloudy eyes ) : มักพบกรณีติดเชื้อโรคชนิดต่างๆโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ Vibriosis รวมทั้ง Cryptocaryon โรคจุดขาวและการติดเชื้อเฉพาะที่ของตาอาจมีจุดสีขาวบริเวณกลางตาขึ้นด้วยก็ ได้
หลักในการรักษา
1. ถ้าเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียควรเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม โดยทดสอบความไวต่อยาก่อนเพื่อให้เลือกใช้ได้ถูกต้องทั้งชนิดและขนาดของยาใน เวลา 5-7 วันเป็นอย่างน้อย
2. ถ้าตรวจพบพยาธิภายนอกอาจเลือกใช้สารเคมีที่สามารถฆ่าเชื้อได้ เช่น คอปเปอร์ซัลเฟต , ฟอร์มาลีน เป็นต้นโดยผสมแช่ลงน้ำในอัตราที่เหมาะสมและไม่เป็นพิษต่อสัตว์
3. พยาธิภายในสามารถรักษาได้โดยใช้ยาผสมอาหาร เช่น Levamesole เพื่อขับพยาธิภายในออกมาได้
4. โรคที่เกิดจากเชื้อราอาจใช้ยาฆ่าเชื้อรา เช่น Acriflavin หรือสารเคมีอื่นๆเพื่อแช่ปลาฆ่าเชื้อราได้
5. โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสไม่สามารถรักษาได้แต่สามารถพยุงได้โดยการควบคุมสภาพ แวดล้อมให้ปลามีความเครียดน้อยที่สุด
6. หลักในการรักษาโรคทั่วไปคือสัตว์จะต้องมีการจัดการที่ดีทั้งทางด้านสภาพน้ำ , อาหารและอื่นๆเพื่อให้สัตว์สามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆได้
7. ควรปรึกษาสัตวแพทย์เมื่อมีปลาป่วยเพื่อให้คำแนะนำปรึกษาและวินิจฉัยที่เหมาะสม







เทคนิค การเลี้ยงปลาทะเลสวยงาม
http://www.nicaonline.com/articles/site/view_article.asp?idarticle=91
Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Powered by Blogger

Blog Directory

Subscribe in NewsGator Online Yahoo bot last visit powered by MyPagerank.NetMsn bot last visit powered by MyPagerank.Net Add to Google Reader or Homepage Ping your blog, website, or RSS feed for Free

Feeds