20/4/53

ประเภทของระบบกรองในตู้ปลาครับ

กรองนอก
Canister Filter
(canister (แคนอิซเทอะ) n. กระป๋อง, กล่องบรรจุอาหาร)


เป็นกรองแบบที่ตัว ระบบอยู่ด้านนอกตู้ มีแค่ท่อน้ำเข้า-น้ำออก ที่แหย่เข้ามาในตู้ ทำให้ไม่เสียพื้นที่ตู้ ดูสวยงาม ภายในถังกรองจะแบ่งเป็นชั้นๆสามารถใส่วัสดุกรอง (Media) ได้หลายแบบ การไหลเวียนของกระแสน้ำจะมีสองแบบ คือแบบไหลจากด้านล่างขึ้นมาด้านบน (ส่วนใหญ่จะเป็นแบบนี้) กับแบบไหลจากด้านบนลงด้านล่าง

การเรียงถาด วัสดุกรองจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน (จากด้านบนลงด้านล่าง) นึกภาพว่าเส้นที่คั่นๆนี่เป็นถาดในถังกรองนะครับ ช่วยผมจินตนาการหน่อยนะ....หา!! อะไรนะ...ไม่จินฯเหรอ..ฮึ๊ยยย..เด๋วสอยเลย....

ฝาถังกรอง

วัสดุกรอง เคมี จำพวกเรซิ่นเพื่อปรับสภาพน้ำให้อ่อน หรือคาร์บอนกัมมันต์ เพื่อดูดซับสารพิษ เอาไว้หลังสุด จะได้ใช้ได้นานๆ ไม่โดนของเสียอุดตันเสียก่อน

ใยกรองละเอียด หรือที่บางร้านเรียกว่าใยแก้ว เพื่อกรองของเสียชิ้นเล็กๆ ฝุ่นผงต่างๆ เป็นส่วนที่ต้องเอาออกมาล้างบ่อยๆ ประมาณเดือนละครั้ง แล้วแต่ปริมาณของเสีย ล้างแล้วก็เอามาใส่ใหม่ได้ แต่ยิ่งนานไป มันจะค่อยๆฟีบลงๆ ไม่ฟูเหมือนใหม่ๆ บางทีก้เป็นรูโหว่ อันนั้นเปลี่ยนได้แล้วนะครับ ซื้อแบบม้วนๆมาตัดเองห่อละ 30 เอง ห่อขนาดประมาณ 1 คนโอบ ใช้กันข้ามปี บางคนใช้แล้วใช้อีกจนฟีบเป็นไข่เจียวค้างปียังไม่ยอมทิ้ง บางคนก็ใช้ครั้งเดียวทิ้ง อันนี้ก็แล้วแต่แนวของแต่ละทั่นเถิดขอรับ ของผมเดินสายกลางเริ่มฟีบแล้วค่อยทิ้ง

ใยกรองหยาบ หน้าตาคล้ายๆสก็อตไบรท์ล้างจาน หรือเป็นฟองน้ำสีดำ การใส่จะเอาใยหยาบไว้ก่อนใยละเอียดเพื่อให้กรองของเสียชิ้นใหญ่ก่อน ใยละเอียดจะได้ไม่ตันเร็ว แต่ไม่ใส่ก็ได้ ตำรวจไม่จับ

วัสดุกรอง ชีวภาพ ส่วนนี้แหละส่วนสำคัญ และควรมีพื้นที่ให้มากที่สุด เพราะเอาไว้ให้จุลินทรีย์เกาะ ทีนี้จุลินทรีย์มันเกาะตามพื้นผิวใช่มะ ฉะนั้นวัสดุที่ดีคือต้องมีพื้นที่ผิวเยอะๆ อย่างพวกหินพัมมิส มันจะมีรูพรุนอยู่ในเนื้อวัสดุ ถ้าเอามาส่องขยายจะเห็นเป็นซอกหลืบมากมายยังกะคอนโด low cost เราก็จะสามารถเอาเมียเก็บไปแอบไว้ได้หลายคน เอ้ย..จุลินทรีย์ก็จะมีที่ให้อยู่เยอะ

วัสดุกรองส่วนที่ช่วยกระจาย กระแสน้ำให้ทั่วถึง เพื่อไม่ให้เกิดมุมอับที่ไม่มีกระแสน้ำไหลไป หรือมี แต่น้อย จุลินทรีย์ส่วนนั้นก็จะไม่ค่อยได้อาหารและออกซิเจน ของเสียที่ไหลไปติดตรงนั้นก็จะไม่ถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ เกิดการเน่าเสีย และเป็นจุดเพาะเชื้อก่อโรคต่างๆได้ ไอ้วัสดุที่ว่าก็จะเป็นจำพวกเซรามิกริง ทั้งแบบพรุนไม่พรุน ถ้าแบบไม่มีรูพรุนเอาไว้กระจายกระแสน้ำเฉยๆ ถ้าแบบมีรูพรุนก็จะใช้เป็นที่อยู่ของแบคทีเรียด้วยในตัว  พอน้ำไหลไปเจอท่อสั้นๆพวกนี้ ที่มันหันไปทงโน้นทางนี้ น้ำก็จะไหลกระจายไปทางโน้นทางนี้เหมือนกัน ก็จะกระจายได้ทั่วกรอง แค่นั้นแหละครับ ไม่มีอะไรซับซ้อน ลองเอาใส่ถาดกรองแล้วตักน้ำราดดูก็เห็นเองครับ

ตูดกรอง

เนี่ย ครับ การเรียงวัสดุกรอง อ่ะทีนี้ หลังจากฟังขี้ปากผมไปแล้ว ลองไปอ่านของพี่ ปิติ๙๙ บ้างก็ได้ครับ กรองนอกสำเร็จรูป by ปิติ๙๙ แล้วก็อีกที่ก็ เว็บของกรอง นอกยี่ห้อ Atman ครับ

 ขอบคุณ Admin aqua.c1ub.net
บทความจากhttp://aqua.c1ub.net/forum/lite.php?topic=312.0

กรองฟองน้ำ
Sponge Filter (Sponge (สะปอง) = ฟองน้ำ, วัสดุที่ฟูอย่างฟองน้ำ)



หมายถึงระบบกรองที่ใช้วัสดุกรองส่วน ใหญ่ หรือทั้งหมด เป็นฟองน้ำ จัดเป็น "กรองใน" (กรองที่ตัวระบบกรองอยู่ในตู้ทั้งหมด) ชนิดหนึ่งใช้เพื่อเป็นวัสดุกรองกล คือใช้เพื่อกรองสารแขวนลอย ฝุ่นผง ขี้ปลาในน้ำ อาจจะมีแบคทีเรียมาอยู่ แต่เมื่อเราล้างฟองน้ำ มันจะหายไปเกือบหมด เพราะพื้นผิวของเส้นใยฟองน้ำลื่นเกินไป ไม่เหมาะกับการเกาะตัวของสังคมแบคทีเรียเท่าไหร่ครับ ดังนั้น คนที่ใช้ กรองแบบนี้ ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยๆหน่อยนะครับ เพราะไม่มีส่วนที่เป็นระบบกรองชีวภาพมาช่วยบำบัดน้ำเหมือนกรองที่ใส่ วัสดุกรองชีวถาพโดยตรง ที่จะยืดระยะการเปลี่ยนน้ำได้นานกว่า

กรอง ฟองน้ำจะแบ่งเป็นสองแบบ คือ

1. แบบที่ใช้หลักการ แอร์ลิฟท์ (Air-Lift) หรือที่เป็นฟองอากาศบุ๋งๆออกมาจากท่อน่ะแหละ มาเป็นตัวดูดน้ำให้ไหลผ่านเข้ามาในฟองน้ำ การไหลของน้ำจะไม่เร็วนัก มักใช้กับตู้ที่ไม่ต้องการกระแสน้ำแรงๆ เช่นตู้เพาะลูกปลา ทำให้กรองฟองน้ำมีอีกชื่อนึงว่า Breeder Filter แบบนี้ราคาจะถูกมาก อันเล็กๆ 15-30 บาทเท่านั้น การใช้ต้องเอามาต่อกับปั๊มลม เหมาะใช้กับตู้ที่ไม่มีสัตว์น้ำ หรือมีน้อยๆครับ 

2. แบบที่ต่อกับปั๊มน้ำ (Powerhead) คือใช้ปั๊มดูดน้ำเข้าหาฟองน้ำกันเลย แรงดูดดีกว่าแบบที่ 1 เยอะ แต่ก็ต้องเสียค่าปั๊มน้ำเพิ่ม และฟองน้ำก็จะตันเร็วกว่าด้วย หรือจะเลือกแบบสำเร็จรูปก็มี แล้วก็เหมือนกับแบบที่ 1 คือเหมาะใช้กับตู้ที่ไม่มีสัตว์น้ำ หรือมีน้อยๆครับ
 ขอบคุณ Admin aqua.c1ub.net
บทความจากhttp://aqua.c1ub.net/forum /lite.php?topic=312.0


กรอง ล่าง

คือระบบกรองที่มีตู้ กรองอยู่ด้านล่างตู้ครับ จะต่างจากกรองนอกคือกรองนอก ตัวถังกรองจะต้องซีลปิดสนิททั้งหมด เพื่อไม่ให้น้ำรั่วออกมา แต่กรองล่างจะเป็นตู้หรือถังเปิด แล้วทำไมน้ำถึงไม่ไหลท่วมบ้านน่ะหรือครับ นั่นก็คือต้องมีส่วนที่เป็นลักษณะสำคัญของตู้กรองล่างนั่นคือ Overflow Control เป็นตัวควบคุมปริมาณน้ำที่ไหลเข้า-ออกจากกรองให้เท่ากัน หรือ ใช้การกั้นหวีน้ำล้นครับ เป็นระบบกรองที่อาจจะไม่เหมาะกับตู้ไม้น้ำซักเท่าไหร่ เพราะเจ้า CO2 ที่เราอุตส่าซื้อถังกันมาเป็นพันแล้วก็แบกไปเติมกันทุกสองสามเดือน และหาวิธีการต่างๆนาๆให้มันละลายลงในตู้เนี่ย เมื่อมันเจอกับการไหลตกกระทบของน้ำตอนที่ไหลลงกั้นกรองสามเหลี่ยม หรือลงจากกล่อง Overflow แล้วก็ไหนจะมีฟองอากาศที่เกิดตอนน้ำไหลลงกรองล่างอีก สิ่งเหล่านี้มันจะทำให้CO2หนีออกจากน้ำไปได้ง่ายครับ แต่ถ้าไม่ซีเรียสก็ไม่เป็นไรหรอกครับ เห็นตู้บางคนก็สวยดี ทั้งๆที่เป็นกรองล่าง

จากนี้ไปเป็นข้อความของพี่ ปิติ99 ในกระทู้เรื่องกรองล่าง ภาพตัวอย่าง--ตู้ปลาที่มีระบบกรองล่าง ที่พันทิพย์นะครับ เนื่องจากพี่เค้าเขียนไว้ได้ดีแล้ว ผมก็ขออนุญาติยกมาแปะเลยแล้วกัน จะแต่งใหม่เขียนใหม่เองก็กลัวจะเป็นเอาอีแต๋นไปแข่งกะเบนซ์ครับ

ก็ ตามไปอ่านกันเอาเองละกันนะครับ

ภาพตู้กรองล่างของพี่ปิติ๙๙ @ Pantip.com ขออนุญาติเอามาให้ดูกันหน่อยนะครับเฮีย
 ขอบคุณ Admin aqua.c1ub.net
บทความจากhttp://aqua.c1ub.net/forum /lite.php?topic=312.0


กรองแขวน
Hang-on Filter


ก็ตามชื่อแหละครับ เป็นกรองที่แขวนเอาไว้ข้างตู้ และมีปั๊มน้ำอยู่ภายในเพื่อหมุนเวียนน้ำ ข้อดีคือไม่กินเนื้อที่ตู้ ติดตั้งง่าย ใช้งานง่าย ราคาถูก 100-500 ก็ซื้อได้แล้ว จะมีข้อเสียอยู่บ้างตรงถ้าเป็นกรองแขวนตัวเล็กๆมักจะไม่ค่อยเหลือพื้นที่ให้ ใส่วัสดุกรองเท่าไหร่ พยายามเลือกตัวที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะยัดได้แล้วกัน

อ้อ แล้วก็ใช้กับตู้ใหญ่ๆไม่ได้นะ เพราะที่มีขายมันก็เป็นตัวเล็กๆทั้งนั้น ก็ขืนทำตัวใหญ่ๆ น้ำหนักมันก็จะเยอะ แขวนไว้ข้างตู้ คงได้มีแตกกันมั่งล่ะ ตู้ใหญ่สุดที่จะใช้ได้คือ ตู้ขนาดประมาณ 24" ถ้าใหญ่กว่านี้คงไม่ไหวแล้วล่ะครับ
 ขอบคุณ Admin aqua.c1ub.net
บทความจากhttp://aqua.c1ub.net/forum /lite.php?topic=312.0


กรองใต้กรวด
Under Gravel Filter (UGF)




เป็นกรองที่ใช้ได้ดี ง่าย ราคาถูก แต่ไม่เหมาะกับตู้ ไม้น้ำครับ เพราะใช้ท่อแอร์ลิฟ หรือปั๊มน้ำต่อกับแผ่นกรอง ในการดูดน้ำให้ไหลผ่านชั้นกรวด โดยให้ชั้นกรวดเป็นวัสดุกรองชีวภาพ ซึ่งจะทำให้ปุ๋ยที่เราฝังไว้ฟุ้งขึ้นมาครับ

Re: ประเภทของระบบกรอง By: admin Date: 09/08/06, [18:03:22]
กรองข้าง,กั้นกรอง

เป็น กรองที่ใช้การกั้นพื้นที่ตู้ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่กรอง มีทั้งกั้นหลัง กั้นข้าง กั้นมุม แล้วใช้ปั๊มดูดน้ำผ่านทางหวีน้ำล้นด้านบน(รุ่นใหม่ๆที่ทำขายกันจะมีการเพิ่ม ชองน้ำเข้าตรงกลางหรือด้านล่างด้วย)

ข้อเสียคือเสียพื้นที่ในตู้เยอะ เพราะต้องกั้นส่วนหนึ่งออกไปเลย เอาออกยาก ต้องแซะซิลิโคนแล้วเอากระจกที่กั้นออก น้ำในกรองแห้งง่าย ต้องคอยเติมน้ำบ่อยๆ ยิ่งเป่าพัดลมด้วยแล้วยิ่งไปกันใหญ่  เพราะน้ำที่หายไปจากการระเหย จะไปลดลงในกรองแทน แล้วก็น้ำที่ไหลตกกระทบผ่านหวีน้ำล้นยังทำให้ CO2ระเหยอีก ถึงจะแก้ไขได้ด้วยการเติมน้ำให้เต็มๆกรอง หรือกลับทิศทางปั๊มก็เถอะ ก็ยังถือว่าสร้างความยุ่งยากให้มากเกินไป ถ้าจะซื้อตู้ใหม่ ไม่ควรใช้ระบบกรองแบบนี้ด้วยประการทั้งปวงครับ ยกเว้นเป็นตู้ปลาเก่าที่มีอยู่แล้วไม่อยากรื้อกั้นกรอง ก็พอไหวครับ ไม่โหดเกินไปนัก

 ขอบคุณ Admin aqua.c1ub.net
บทความจาก http://aqua.c1ub.net/forum /lite.php?topic=312.0


Bookmark and Share
Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Powered by Blogger

Blog Directory

Subscribe in NewsGator Online Yahoo bot last visit powered by MyPagerank.NetMsn bot last visit powered by MyPagerank.Net Add to Google Reader or Homepage Ping your blog, website, or RSS feed for Free

Feeds