14/4/53

โรคจุดขาวในปลาทะเล (ตอน 2)

    ในตอนที่แล้ว ได้กล่าวถึงโรคจุดขาวที่เกิดจากเชื้อ Cryptocaryon irritans (marine ich หรือ white spot disease) ไปแล้ว คราวนี้จะกล่าวถึง marine ich ที่เกิดจากเชื้ออีกสองชนิดที่เหลือ คือ Amyloodinium ocellatum (velvet หรือ coral fish disease) และ Brooklynella hostilis (clownfish disease)
Velvet หรือ coral fish disease


     สาเหตุเกิดจากโปรโตซัวชนิด dinoflagellate คือ Amyloodinium ocellatum โดยวงชีวิตประกอบด้วยสามระยะ คือ 1) ระยะ trophont  2) ระยะ tomont หรือ ระยะการเข้า cyst  และ 3) ระยะ dinospore โดยระยะ trophont จะพบบริเวณผิวหนังของโฮสต์โดยตัวเชื้อจะดูดกินสารอาหาร สืบพันธุ์ ซึ่งระยะนี้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ต่อมาเมื่อมีการสร้าง cyst บนตัวโฮสต์และแตกออกกลายเป็นระยะ dinospore ซึ่งเป็นระยะที่เคลื่อนที่ได้และหาโฮสต์ใหม่
     ปลาที่ติดเชื้อจะพบว่ามีลักษณะคล้ายเกล็ดน้ำตาลสีขาวอยู่บนผิวหนัง เนื่องด้วยขนาดที่เล็ก คือประมาณ 50-60 ไมครอน ทำให้พบว่าบริเวณที่ติดเชื้อมักจะขุ่น ถ้าติดเชื้อรุนแรง พบว่าปลาจะสร้างเมือกออกมาจำนวนมากและก็จะสลัดเมือกเหล่านั้นทิ้งไป เช่นเดียวกับการติดเชื้อปรสิตชนิดอื่น ๆ
     สามารถติดเชื้อในเหงือก ทำให้ปลาหายใจเร็ว หากติดเชื้อบนผิวหนัง ปลาแสดงอาการว่ายแฉลบ หรือถูตัวกับสิ่งตกแต่งตู้
การรักษา
      เช่นเดียวกับการรักษา Cryptocaryon irritans ที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้
      มีรายงานว่า dinospore มีชีวิตอยู่ได้นานถึงสามถึงสี่สัปดาห์ ดังนั้น จึงควรรักษาปลาต่อเนื่องหลังจากปลาแสดงอาการติดเชื้อไปอย่างน้อย 10 วัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
      ส่วน Hyposalinity method เป็นวิธีที่แนะนำ โดยลดความเค็มลงอย่างรวดเร็วให้เหลือ 1.010 ถึง 1.013 เมื่อครบระยะเวลารักษาให้ค่อย ๆ ปรับความเค็มขึ้นอย่างช้า ๆ  เนื่องจากหากปรับขึ้นเร็วอาจเกิดอาการ osmotic shock ตามมาได้ โดยแนะนำให้ปรับขึ้นห้ามเกิด 0.002 ภายใน 24 ชั่วโมง

Clownfish disease               
         เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิด ciliate (ciliate protozoa) คือ  Brooklynella hostilis มักพบได้บ่อยในปลาการ์ตูน ทำให้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Clownfish disease ซึ่งค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากสามารถแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็ว  ปลาที่มักพบการติดเชื้อ พบว่า เกิดจากการเลี้ยงที่หนาแน่นเกินไป หรือคุณภาพน้ำไม่เหมาะสม หรือทั้งสองปัจจัยร่วมกัน
          วงจรชีวิตของเชื้อนี้ไม่ได้ระบุชัดเจนเหมือนเชื้อก่อนหน้านี้ ทั้งสองชนิดแต่ปรสิตแบ่งตัวบนโฮสต์และสืบพันธุ์  และติดต่อไปยังโฮสต์ตัวอื่นต่อไป เชื้อสามารถแบ่งตัวได้รวดเร็วกว่าเชื้อก่อนหน้าที่ได้กล่าวไป ดังนั้นจึงทำให้เกิดอาการที่รวดเร็วกว่า
           เชื้อจะอาศัยบนผิวหนังและดูดกินเซลล์เม็ดเลืองแดง ทำความเสียหายรุนแรงต่อบริเวณที่อาศัยบริเวณครีบ เหงือก และผิวหนัง อัตราการตายมักเกิดขึ้นรวดเร็วและฉับพลัน มักพบว่าเกิดการสูญเสียของเหลว ภาวะการขาดน้ำ จนกระทั้งเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมา

อาการ
         ขั้นแรกอาจยังไม่สังเกตอาการได้เด่นชัด อาจพบเพียงจุดสีขาวเล็ก ๆ จำนวนไม่มาก ต่อมา ในระยะเวลาอันสั้น จะพบอัตราการหายใจของปลาถี่ขึ้นรวดเร็ว เนื่องจากตัวเชื้อได้เข้าทำลายบริเวณเหงือก ทำให้การแลกเปลี่ยนอากาศได้ไม่ดี ต่อมาจะพบรอยโรคเป็นหย่อม ๆ เกิดการขุ่นขาวของผิวหนัง ครีบ และดวงตา มีการสร้างเมือกจำนวนมาก อาจพบการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมา

การรักษา
          การควบคุมการระบาดได้ดีที่สุดอันดับแรก คือ การทำ Hyposalinity method และ การรักษาเช่นเดียวกับ การรักษา Cryptocaryon irritans ที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้

   

     ภาพแสดงความแตกต่างของ marine ich ที่เกิดจากเชื้อที่แตกต่างกัน โดยลักษณะภายนอกจะพบว่า พบจุดสีขาวอยู่บนผิวหนังของปลา Amyloodinium ทำให้เกิดจุดขาวเช่นเดียวกับ Cryptocaryon แต่จุดขาวมีขนาดเล็กกว่าและมีการกระจายตัวทั่วมากกว่า (รูป A และ B) และทำให้เกิดการขัดขวางของระบบหายใจคือเหงือก มีการหายใจถี่ ส่วน Brooklynella จะพบว่าเมื่อติดเชื้อจะเป็นลักษณะแถบ ๆ บริเวณกว้างของแต่ละจุดมากกว่า (รูป C) อาการจะรุนแรงกว่า โดยการรักษาส่วนใหญ่แล้วจะคล้ายคลึงกัน

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Powered by Blogger

Blog Directory

Subscribe in NewsGator Online Yahoo bot last visit powered by MyPagerank.NetMsn bot last visit powered by MyPagerank.Net Add to Google Reader or Homepage Ping your blog, website, or RSS feed for Free

Feeds