14/4/53

ระบบกรองในตู้ปลาที่ควรจะรู้

ปลาเมื่อมาดำรงชีวิตอยู่ในตู้ปลาซึ่งเป็นระบบปิดซึ่งน้ำไม่มีการไหลเวียน เปลี่ยนถ่ายมากนักเมื่อเทียบกับการดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ในขณะที่มีการให้อาหาร ซึ่งปลาอาจได้รับอาหารมากกว่าในธรรมชาติเสียอีกเนื่องจากผู้เลี้ยงทุกคนต้อง การ ให้ปลาของตนโตเร็วๆและ มีความสวยงาม ในเรื่องนี้ สัตวแพทย์ได้สรุปว่า ปัญหาหลักของปลาตู้ที่เจ็บป่วยมาจากการให้อาหารที่มากเกินไป สรุปก็คือการให้อาหารปลาที่มากเกิน เป็นโทษต่อปลามากกว่าการให้อาหารที่น้อย จากการให้อาหารที่มากจึงมีเศษอาหารที่เหลือตกค้างตามซอกหรือมุมอับต่างๆ ประกอบ กับปลามีการขับถ่ายของเสียอยู่ตลอดเวลา ของเสียเหล่านั้นก็หมุนเวียนอยู่ในตู้ปลา และเมื่อสะสมมากเข้าก็เกิดการเน่าเหม็น เป็นพิษต่อปลาที่เลี้ยงอยู่ในตู้ การแก้ไขทำได้โดยการกำจัดของเสียที่มีอยู่ออกไปก็คือ
    * การ เปลี่ยนน้ำ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ในการนำเอาของเสียที่สะสมอยู่ในน้ำออกไปบางส่วน โดยการเปลี่ยนน้ำพร้อมกับการดูดของเสียที่หมักหมมอยู่บริเวณกรวดทรายบริเวณ พื้นตู้ออกไปบางส่วน โดยใช้สายยางต่อกับขวดพลาสติกปากกว้างเช่นขวดน้ำอัดลมยี่ห้อต่างขนาดประมาณ 1 ลิตร ดูดขี้ปลาออกโดยที่กรวดและทรายจะไม่หลุดออกไป แต่ถ้าเราใช้เพียงสายยาง กรวดและทรายจะหลุดไปกับการถ่ายน้ำ และบางครั้งกรวดทรายที่มีเม็ดขนาดใหญ่จะไปอุดตันสายยางทำให้การเปลี่ยนน้ำ ล่าช้า การเปลี่ยนน้ำเป็นวิธีการที่ง่ายก็จริงแต่เป็นงานหนักของผู้เลี้ยงที่ต้อง เปลี่ยนถ่ายในทุกๆ1-2 สัปดาห์ถ้าปลาที่เลี้ยงมีจำนวนมากและมีขนาดใหญ่การเปลี่ยนน้ำอาจต้องบ่อย ครั้งกว่านี้ ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาเครื่องมือมาเพื่อลดการเปลี่ยนถ่ายน้ำซึ่งก็คือระบบ กรองซึ่ง จะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป
    * การใช้แผ่นกรองใต้พื้นทราย ควบคู่ไปกับ ปั๊มออกซิเจน ซึ่งตู้ปลาในอดีตจะมีเพียงระบบนี้ ดังนั้นระบบนี้จึงเป็นระบบพื้นฐานของระบบกรองในตู้ปลา ซึ่งเราจะพบเห็นกันอย่างชินตา และขอเรียกสั้นๆว่า ระบบกรองใต้พื้นทราย โดยระบบนี้จะมีแผ่นพลาสติกที่มีขายตามขนาดกว้างยาวของตัวตู้วางอยู่ด้านล่าง สุดติดกับพื้นตู้ จากนั้นปูทับด้วยทรายหรือกรวดละเอียดแต่ต้องระวังไม่ให้ทรายหรือกรวดละเอียด ตกไปใน ช่องพลาสติกของแผ่นกรองอาจใช้แผ่นใยสังเคราะห์ปูลงบนพื้นพลาสติกก่อนที่จำทำ การปูทับ ด้วยทราย โดยกรวดทรายนอกจากจะสร้างความสวยงามให้กับตู้แล้วยังเป็นวัสดุกรองที่ดี สามารถดูดซับสารแขวนรอยในน้ำ การกรองน้ำด้วยวิธีนี้สามารถลดการเปลี่ยนถ่ายน้ำทำให้ผู้เลี้ยงมีภาระที่ลด ลงเป็นอย่างมาก
    * การใช้ระบบกรองชีวภาพ ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างสูงมีให้เลือกใช้ทั้งระบบที่อยู่ภายในตู้ และนอกตู้ มีให้เลือกมากมายหลายชนิดทั้งผลิตในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากทางยุโรป ระบบของเครื่องกรองเหล่านี้ก็มีหลักการที่สำคัญ คือมีการเก็บกักของเสีย และย่อยสลายของสียที่เป็นพิษต่อปลาให้มีปริมาณที่ลดลงหรือเปลี่ยนเป็นสารที่ พืชน้ำ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ปัจจุบันระบบนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะตู้ปลาขนาดใหญ่ตั้งแต่ประมาณ 30 นิ้วขึ้นไป นิยิมทำระบบนี้ติดกับตู้ปลาแบบถาวร หรือที่ในท้องตลาดนิยมเรียกกันว่าตู้ปลากั้นกรอง วัสดุที่ใช้ในการกรองของตู้ปลาเหล่านี้ ประกอบด้วย
          1. ผงคาร์บอน อาจเป็นผงถ่านธรรมดา หรือผงถ่านหินแอนทราไซด์ ซึ่งมีราคาแพงกว่าผงถ่านธรรมดามากวัตถุประสงค์ก็เพื่อดูดสารแขวนลอยประเภท โลหะหนักหรือสารเคมีที่ละลายอยู่ใน น้ำ ถ้าถ่านธรรมดาจะมีอายุการใช้งานที่ไม่เกิน 1 เดือน ถ้าคุณไม่เปลี่ยนผงคาร์บอนของคุณอาจเป็นตัวแพร่สารพิษให้กับตู้ปลาของคุณแทน
          2. ใยแก้ว ซึ่งทำหน้าที่ในการกรองสิ่งสกปรกและสารแขวนลอยต่างๆในน้ำ โดยใยแก้วมีอายุการใช้งาน 2-4 สัปดาห์ดังนั้นผู้เลี้ยงต้องคอยสังเกตใยแก้วว่ามีความสกปรกมากน้อยเพียงใด ถ้าเน้นประหยัดอาจนำไปซักแล้วนำมาใช้ต่อ แต่เมื่อซักแล้วประสิทธิภาพการกรองจะลดลงจากเดิมลงไป ถ้าไม่เสียดายอาจใช้วิธีการเปลี่ยน ซึ่งใยแก้วมีราคาไม่แพงมากนัก
          3. ไบโอบอล ทำด้วยพลาสติกมีลักษณะเป็นหนามเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการยึดเกาะของจุลลิ นทรีย์ และเป็นตัวกระจายน้ำทำให้เพิ่มปริมาณ ออกซิเจน โดยไบโอบอลส่วนมากจะวางอยู่ในชั้นที่อยู่ในอากาศหรือจมน้ำเพียงบางส่วนเรา เรียกส่วนนี้ว่าส่วนแห้ง(dry)
          4. เศษประการังหรือเซรามิค ที่มีรูพรุน โดยชั้นนี้ จะจมอยู่ใต้น้ำหรือเราเรียกว่าส่วนเปียก(wet)เพื่อให้จุลลินทรีย์อาศัยอยู่ ในรูพรุน เหล่านี้ทำหน้าที่เปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นไนไตรท์และไนเตรท เป็นอาหารแก่พืชน้ำ ดังนั้นการเลี้ยงไม้น้ำในตู้ปลาจึงมีความจำเป็นเพราะไม้น้ำจะเป็นตัวทำให้ ระบบเกิด ความสมดุล ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดอีกครั้งในเรื่องระบบนิเวศน์ในตู้ปลา
          5. ปั๊มน้ำ โดยปั๊มจะทำหน้าที่ให้น้ำในตู้ปลาเกิดการไหลเวียผ่านระบบกรอง และวัสดุกรองที่กล่าวถึงข้างต้น โดยขนาดของปั๊มมีความจำเป็นมากน้องคำนึงถึง เพราะถ้าใช้ขนาดที่ใหญ่เกินไปจะทำให้ตู้ปลามีกระแสน้ำที่แรงเหมือนการเกิด น้ำหลากหรือน้ำป่าไหลท่วมในฤดูฝน ทำให้ปลาต้องว่ายน้ำอยู่ตลอดเวลา เพราะปกติปลาจะว่ายทวนน้ำ ทำให้เกิดความเครียดในปลาได้ แต่ถ้าปั๊มขนาดเล็กไปการกรองอาจไม่มีประสิทธิภาพ แต่ขอแนะนำหลักคร่าวๆ ดังนี้ ตู้ปลา 36 นิ้ว ควรใช้ปั๊มประมาณ 1400 ลิตรต่อชั่วโมง ตู้ 48 นิ้ว ควรใช้ปั๊มประมาณ 2000 ลิตรต่อชั่วโมง ตู้ 60 นิ้วควรใช้ปั๊มขนาดมากกว่า 2500 ลิตรต่อชั่วโมง ตัวเลขนี้ต้องดูที่เอกสารที่ติดอยู่ที่ปั๊ม เพราะรุ่นของปั๊มจะบอกตัวเลขสูงเกินจริงประมาณ 500 ลิตรต่อชั่วโมงซึ่งเป็นเรื่องการค้า ก็ไม่ว่ากัน

http://www.trangpets.com/index.php?topic=2504.0
Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Powered by Blogger

Blog Directory

Subscribe in NewsGator Online Yahoo bot last visit powered by MyPagerank.NetMsn bot last visit powered by MyPagerank.Net Add to Google Reader or Homepage Ping your blog, website, or RSS feed for Free

Feeds