14/4/53

คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา

คุณสมบัติ ของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา หมายถึงสภาพน้ำในบ่อซึ่งปลาอาศัยอยู่ได้ มีการเจริญเติบโต แพร่ขยายพันธุ์ได้ และมีความแข็งแรงปราศจากโรค คุณสมบัติของน้ำที่ควรพิจารณาในการเลี้ยงปลา มีดังนี้

ค่าความ เป็นกรดและด่าง (pH)
ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำเรียกย่อ ๆ ว่า พีเอช (pH) เป็นการวัดปริมาณของไฮโครเจนอิออนที่มีอยู่ในน้ำ มีค่าอยู่ระหว่าง 0 – 14 แบ่งได้ดังนี้คือ
pH 7 มีค่าเป็นกลาง
pH ต่ำกว่า 7 มีค่าเป็นกรด
pH สูงกว่า 7 มีค่าเป็นด่าง
ใช้เครื่องมือวัด ที่เรียกว่า พีเอชมิเตอร์ หรือใช้ กระดาษวัดพีเอช
ผลของความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของน้ำที่มีต่อปลา
ค่า pH ของน้ำมีผลต่อการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์วางไข่ของปลาแต่ละชนิดไม่เท่า กัน เช่น กลุ่มปลา Tetra พวกปลานีออน, คาร์ดิเนล, ปลาซิวหางกรรไกร และปลาซิวข้างขวาน จะเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ดีในช่วง pH ระหว่าง 5.3 – 7.8 ส่วนปลาหางไหม้, ปลาทรงเครื่อง, ปลาเล็บมือนาง, ปลาน้ำผึ้ง, ปลาสวาย, ปลากะทิง, ปลาเสือตอ และปลาของไทย ส่วนใหญ่มักจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 6.5 – 7.5

การ แก้ไข
ถ้าต้องการเพิ่มค่า pH ของน้ำ โดยการใส่ปูนขาว หรือสารละลายพวกโปรแตสเซียมไฮดรอกไซด์
ถ้าต้องการลดค่า pH ของน้ำ โดยการเติมสารพวกกรด เช่น กรดไฮโดรคลอริก, แอมโมเนียซัลเฟต
แล้วตรวจวัด ด้วยอุปกรณ์ตรวจวัด pH เช่น กระดาษเทียบสี หรือ เครื่องพีเอชมิเตอร์ หรือ กรองผ่าน peat moss


ค่าความเป็นด่าง (Alkalinity)
ค่า ความเป็นด่าง หมายถึง ความเข้มข้นของด่างซึ่งส่วนใหญ่เป็นไอออนของคาร์บอเนต (Co3), ไบคาร์บอเนต ( HCO3) และ ไฮดรอกไซด์ (OH) ซึ่งจะเป็นตัวควบคุมไม่ให้น้ำมีการเปลี่ยนแปลงของพีเอชอย่างรวดเร็ว น้ำที่เหมาะสม ต่อการเลี้ยงปลาควรมีค่าความเป็นด่างระหว่าง 100 – 200 มิลิกรัมต่อลิตร ถ้าในแหล่งน้ำมีค่าความเป็นด่างน้อยก็สามารถเพิ่มโดยใช้ปูนโดโลไมล์เผา ใส่แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้น้ำใส จึงค่อยสูบน้ำไปใช้ในการเลี้ยงปลา


ค่า ความกระด้างของน้ำ
ความกระด้าง หมายถึง ความเข้มข้นของแคลเซียมและแมกนีเซียมที่ละลายอยู่ในน้ำสามารถกำจัดได้โดยการ ต้ม ความกระด้างของน้ำส่วนใหญ่เกิดจากลักษณะของดินและหินที่น้ำไหลผ่าน Sawyer และ Mc carty (1967) ได้จำแนกประเภทของน้ำตามความกระด้างได้ดังนี้
น้ำ อ่อน (Soft) 0 – 75 มิลลิกรัม ต่อ ลิตร
น้ำกระด่างปานกลาง (Moderately hardness) 75 – 150 มิลลิกรัม ต่อ ลิตร
น้ำกระด้าง (Hard) 150 - 300 มิลลิกรัม ต่อ ลิตร
น้ำกระด้างมาก (Very hard) มากกว่า 300 มิลลิกรัม ต่อ ลิตร
ค่าความกระด้างและความเป็นด่างของน้ำเป็นตัวช่วยควบคุมการ เปลี่ยนแปลง pH ของน้ำซึ่งระดับที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 80 - 200 มิลลิกรัม ต่อ ลิตร


อุณหภูมิ
อุณหภูมิของน้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อ สิ่งมีชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทางตรง คือ เมื่ออุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นกิจกรรมต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต เช่น การกิน, การหายใจ, การย่อยอาหาร สูงขึ้น และเมื่ออุณหภูมิของน้ำลงลงกิจกรรมต่าง ๆ ก็ลดลงด้วย
ทางอ้อม คือ ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้ความเป็นพิษของแอมโมเนียและการย่อยสลายของอาหาร และ เศษอาหารเพิ่มมากขึ้น โดยปกติปลาในเขตร้อนชอบอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิระหว่าง 25 – 32 องศาเซลเซียส และปลาไม่สามารถทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใด ฉะนั้นจึงไม่ควรนำปลาจากที่หนึ่งไปปล่อยยังอีกที่หนึ่งที่มีอุณหภูมิแตกต่าง กันมาก โดยเฉพาะการนำปลาจากในน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำไปปล่อยในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่า จะทำให้ปลาเสียหายมาก จึงควรมีการปรับอุณหภูมิในถุง หรือ ภาชนะที่ใส่ปลาก่อนทำการปล่อยปลา โดยปกติไม่ควรเปลี่ยนแปลงเกิน 3 องศาเซลเซียส ช่วงฤดูหนาวปลามักจะอ่อนแอและป่วยง่าย จึงควรระมัดระวังป้องกัน


ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ
ระดับ ที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาควรมีค่ามากกว่า 5 มิลลิกรัม ต่อ ลิตร ถ้าออกซิเจนอยู่ในช่วง 2 – 5 มิลลิกรัม ต่อ ลิตร จะทำให้การเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ของปลาลดลง ส่วนใหญ่มักมีออกซิเจนละลายอยู่ในช่วง 5 – 7 มิลลิกรัม ต่อ ลิตร ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำเรียกย่อว่า ดีโอ (DO) ค่าดีโอจะน้อยที่สุดในตอนเช้ามืด ถ้ามีปริมาณต่ำปลาจะมีอาการลอยหัวเพื่อขึ้นมาหายในบนผิวน้ำ การเพิ่มค่าดีโอ ในน้ำสามารถทำได้ดังนี้
1.ควบคุมค่าความโปรงใสของน้ำให้อยู่ในช่วง 30 – 60 เซนติเมตร
2.เปลี่ยนถ่ายน้ำแล้วใส่เกลือ 0.5 – 1 เปอร์เซ็นต์
3.ใช้ เครื่องตีน้ำหรือทำให้น้ำได้สัมผัสกับอากาศเพื่อให้ออกซิเจนละลายในน้ำ


ความ เค็ม
ความเค็ม คือ ปริมาณเกลือที่ละลายในน้ำที่มีหน่วยวัดเป็นกรัม ต่อ น้ำหนึ่งตัน หรือ พีพีที (ppt) ความเค็มของน้ำทำให้ปลาต้องปรับตัวให้เข้ากับปริมาณเกลือที่ละลายอยู่ในน้ำ ให้ดำรงชีวิตและมีการเจริญเติบโตตามปกติ ปลาต่างชนิดกันจะชอบอาศัยอยู่ในน้ำที่มีความเค็มแตกต่างกัน เช่น
ปลาน้ำ จืด ชอบอาศัยอยู่ในน้ำที่มีความเค็ม 0 – 3 พีพีที
ปลาน้ำกร่อย ชอบอาศัยอยู่ในน้ำที่มีความเค็ม 15 – 25 พีพีที
ปลาทะเล ชอบอาศัยอยู่ในน้ำที่มีความเค็ม 25 – 32 พีพีที
แต่ปลาบางชนิดสามารถปรับ ตัวอย่างช้า ๆ เพื่ออาศัยในน้ำที่มีความเค็มในระดับต่าง ๆ ได้ เช่น ปลาเสือดาว, ปลาเสือหน้าแดง, ปลาบู่กล้วย, ปลาเฉี่ยว เป็นต้น


แอมโมเนีย
แอมโมเนีย หมายถึง ก๊าซไนโตรเจนที่มีอยู่ในรูปไอออนไนซ์ฟอร์มตามธรรมชาติจะพบแอมโมเนียในน้ำผิว ดิน น้ำใต้ดิน มักเกิดจากขบวนการดึงสลายยูเรียด้วยน้ำ นอกจากนี้ยังเกิดตามธรรมชาติโดยการรีดักชั่นไนเตรดภายใต้สถาวะที่ไม่มี ออกซิเจนระดับความเข้มข้นของแอมโมเนียที่จะเป็นอันตรายต่อปลาไม่ควรเกิน 0.02 มิลลิกรัม ต่อ ลิตร การลดความเป็นพิษของแอมโมเนียควรใช้เกลือแกง 600 – 800 กิโลกรัม ต่อ ไร่ หรือใช้ในระดับ 10 – 20 กรัมต่อน้ำ 1 ตัน (10 – 20 ppm) ในตู้เลี้ยงปลา


ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เป็นส่วน ประกอบหลักของการควบคุมไม่ให้พีเอชของน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความ สำคัญในขบวนการสังเคราะห์แสง คาร์บอนไดออกไซด์จะไปจำกัดการใช้ออกซิเจนของสัตว์น้ำโดยจะทำให้การแลก เปลี่ยนออกซิเจนลดประสิทธิภาพลงทำให้เป็นอันตรายต่อระบบหมุนเวียนเลือดและ ขบวนการหายใจของสัตว์น้ำ ปลาส่วนใหญ่สามารถรู้สึกต่อการเปลี่ยนแปลงของคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า 6 มิลลิกรัม ต่อ ลิตร ดังนั้นเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับสัตว์น้ำจึงไม่ควรมีดาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่า 5.0 มิลลิกรัม ต่อ ลิตร


ก๊าซไข่เน่า
เกิดจากการ หมักหมม และการเน่าสลายของอินทรีย์สารก้นบ่อ ในภาวะที่ไม่มีออกซิเจนซึ่งทำให้ซัลไฟด์ถูกดึงไปใช้และมีรูปแบบเป็น H2S HS ซึ่งซัลไฟด์ในรูปแบบ H2S หรือ ก๊าซไข่เน่า เป็นรูปแบบที่เป็นพิษต่อสัตว์น้ำและพบว่าถ้าน้ำมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ำ จะทำให้เกิดก๊าซไข่เน่ามากขึ้น ระดับความเช้มข้นของก๊าซไข่เน่าไม่ควรเกิน 0.002 พีพีเอ็ม (ppm) การลดความเป็นพิษควรถ่ายน้ำลงและใส่เกลือแกง 300 – 400 กิโลกรัม ต่อ ไร่ ประมาณ 20 กรัม ต่อ น้ำ 10 ลิตร หรือ ใช้ปูนขาว 30 กรัม ต่อ น้ำ 1 ตัน หว่านหรือละลายน้ำลาดให้ทั่วบ่อ


เอกสาร อ้างอิง : หนังสือการทำธุรกิจปลาสวยงาม สถาบันพัฒนาปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ กรมประมง
Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Powered by Blogger

Blog Directory

Subscribe in NewsGator Online Yahoo bot last visit powered by MyPagerank.NetMsn bot last visit powered by MyPagerank.Net Add to Google Reader or Homepage Ping your blog, website, or RSS feed for Free

Feeds